HOME > ระบบเงินบำนาญแห่งชาติ > การชำระค่าประกันเงินบำนาญ
เงินสมทบ = รายได้มาตรฐานต่อเดือน*ของผู้ประกันตน x อัตราเงินสมทบ
* จำนวนเงินนี้ได้มาจากการหักเงินไม่ต่ำกว่า 1,000 วอน
จากเงินเดือนที่รายงานโดยผู้ประกันตนสำหรับการจ่ายเงินสมทบและการคำนวณสิทธิประโยชน์
จำนวนเงินสูงสุด | จำนวนเงินต่ำสุด | ระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้ |
---|---|---|
6,170,000 วอน | 390,000 วอน | กรกฎาคม 2024 ~ มิถุนายน 2025 |
※ ตัวเลขจำนวนเงินสูงสุดและต่ำสุดของรายได้มาตรฐานต่อเดือนจะมีผลบังคับใช้เป็นเวลาหนึ่งปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมในปีที่เกี่ยวข้อง
ผู้ประกันตนกับสถานที่ทำงาน | ผู้ประกันตนอิสระ/ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ/ผู้ประกันตนต่อเนื่องโดยสมัครใจ | |
---|---|---|
นายจ้าง | ลูกจ้าง | |
4.5% | 4.5% |
※รายได้มาตรฐานต่อเดือนจะคำนวณใหม่ปีละครั้ง และอาจไม่เท่ากับ 4.5% ของรายได้จริงต่อเดือน
วันครบกำหนดของการจ่ายเงินสมทบคือวันที่ 10 ของเดือนถัดไปของเดือนที่เกี่ยวข้อง**
* เนื่องจากระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบเป็นช่วงที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ ดังนั้นจำนวนเงินที่ค้างชำระจะเกิดขึ้น หากผู้ประกันตนไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนดเวลา
** การจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายในวันทำการถัดไป หากวันที่ 10 เป็นวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์
ผู้ประกันตน (นายจ้าง)
จะต้องจ่ายเงินสมทบเป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนถัดไปจากเดือนที่ได้รับสิทธิไปจนถึงเดือนก่อนหน้าวันที่สูญเสียสิทธิ
※ หากวันที่ผู้ประกันตนได้รับสิทธิเป็นวันแรกของเดือนที่เกี่ยวข้อง และหากผู้ประกันตนโดยสมัครใจได้รับสิทธิ การจ่ายเงินสมทบจะต้องจ่ายต่อจากเดือนในวันที่ได้รับสิทธิ หากผู้ประกันตนเลือกที่จะดำเนินการในลักษณะนี้
※ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการจ่ายเงินสมทบ: ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์สำนักงานประกันสุขภาพ 1577-1000
การคืนเงินบำเหน็จที่ได้รับ คือถ้าหากบุคคลใดที่มีสิทธิในฐานะผู้ประกันตนได้รับเงินบำเหน็จที่เป็นเงินก้อนคืนแล้ว
เงินที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยระบบจะคืนช่วงเวลาการประกันตนให้ ระบบนี้ขยายไปถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับในรูปของเงินบำนาญด้วย แต่ไม่มีการบังคับ
ระบบนี้เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตน เลื่อนการจ่ายเงินสมทบออกไป ตามระยะเวลาการขอจ่ายเงินสมทบที่เลื่อนออกไป ตามการจ่ายเงินสมทบปัจจุบันของบุคคลนั้น บุคคลที่ยื่นขอเลื่อนการจ่ายเงินสมทบออกไปนี้
อาจยื่นขอได้ภายในระยะเวลาเป้าหมายที่เลื่อนออกไป (สูงสุด 10 ปี) ระบบนี้รับรองจำนวนเดือนของการจ่ายเงินสมทบ ที่เลื่อนออกไปให้ถือว่าเป็นระยะเวลาประกันเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ไม่ได้บังคับ